“มาตรการความปลอดภัย” คือหนึ่งในหัวใจขององค์กรธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความปลอดภัยใน “ข้อมูล” ทั้งของลูกค้าและบริษัท องค์กรระดับโลกบางแห่ง ยังเคยพลาดท่าโดนเจาะข้อมูล ทำให้เสียชื่อเสียง และก่อให้เกิดประสบการณ์ที่เลวร้ายต่อลูกค้า ดังนั้น การป้องกัน ด้วย “การยืนยันตัวตน” สำหรับลูกค้า จึงเป็นผลดีต่อทั้งสองฝ่าย และเป็นสิ่งที่สำคัญสุดๆค่ะ
เรามีดู “6 ตัวอย่าง” ชัดๆ ว่าการยืนยันตัวตนลูกค้า หรือ Verify นั้น ใช้ได้ดีในกรณีใดบ้าง
1. การยืนยันตัวตน ในการลงทะเบียน : ตัวอย่างนี้ เห็นชัดๆ เมื่อเราโหลดแอพพลิเคชั่นมือถือ มาใช้ และต้องทำการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้งานค่ะ อย่างเช่น เราลงทะเบียนใช้ Line, Facebook หรือ WhatsApp ก็ตาม เราต้องทำการกรอกเบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้ระบบ ทำการส่ง “รหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว” (OTP : One-Time Password) มาให้เรา ผ่าน SMS จากนั้น เราก็นำรหัสผ่านนั้น มากรอกลงในตัวแอพพลิเคชั่นอีกทีหนึ่ง โดยรหัสต้องตรงกับที่ระบบส่งมาเท่านั้น การยืนยันตัวตนของเราจึงจะสำเร็จ หลังจากผ่านขั้นตอนยืนยันตัวตนนี้ไปแล้ว เราก็สามารถมี บัญชีผู้ใช้งานจริง ในแอพนั้นได้แล้วค่ะ
2.ยืนยันตัวตน สำหรับการ Upgrade : โมเดลธุรกิจแบบ “ให้ใช้ฟรีก่อน” เมื่อใช้ดีแล้วจึงค่อยซื้อเวอร์ชั่นเสียตังค์ หรือการให้บริการแบบ Freemium เป็นแบบหนึ่งที่นิยม สำหรับ แอพพลิเคชั่น และซอฟแวร์ ออนไลน์ค่ะ ในกรณีนี้ หากเราต้องการจะไปใช้เซอร์วิส เต็มรูปแบบ แบบที่ต้องจ่ายตังค์ เราต้องทำการอัพเกรดค่ะ ซึ่งแน่นอน ต้องมีการยืนยันตัวตนผ่านแอพ สำหรับการอัพเกรดด้วย เพื่อให้แน่ใจว่า ลูกค้าที่สมัครเข้ามามีตัวตนจริง ไม่ได้ถูกใครขโมยบัตรเครดิตไปรูด และแน่นอน วิธีการที่ง่าย และได้ผลเป็นอย่างดี ก็หนีไม่พ้นการส่งรหัส OTP ผ่านเบอร์โทรศัพท์ ให้ผู้ใช้งานกรอกรหัสยืนยันตัวตนนั่นเองค่ะ
3.การตั้งรหัสใหม่ หรือการ Reset Password : การตั้งรหัสใหม่ น่าจะเป็นตัวอย่างที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีค่ะ ยกตัวอย่างใกล้ตัว คือ Gmail เวลาที่เราลืมรหัสเข้า Gmail แล้วต้องการที่จะทำการตั้งรหัสใหม่ เราต้องทำการยืนยันตัวตนด้วยเบอร์โทรศัพท์ผ่าน Gmail ก่อนเช่นกัน และแน่นอนค่ะ OTP ก็เป็นพระเอกของเราเช่นเคย ที่จะช่วยให้ Google รู้ว่า เราคือเจ้าของบัญชีตัวจริงเสียงจริง ที่ต้องการตั้งรหัสเข้า Gmail ใหม่ จริงๆ
4.การที่ผู้ใช้งานกลับมาใช้ใหม่ หลังจากไม่ได้ใช้งานมานาน : กรณีนี้ คือ เมื่อเราเข้าใช้งานในแอพพลิเคชั่นมือถือ หรือบนเว็บไซต์ แล้วหายไปนาน คือไม่ได้เข้ามาใช้อีกเลย เช่น หายไป 2 เดือน แล้วมาทำการ Log in อีกที เมื่อเรากลับมาใช้ใหม่ และต้องทำการป้อนรหัสผ่าน บางแอพพลิเคชั่น อาจจะขอให้เรา ยืนยันตัวตนผ่านเบอร์โทรศัพท์มือถือ ด้วย OTP ค่ะ เพื่อช่วยให้มั่นใจว่า ไม่ใช่ใครแอมมาทำการ ล็อกอิน เข้าระบบ โดยใช้บัญชีของเรา (เพราะหายไปนานๆ แล้วจู่ๆกลับมาใช้งาน ก็ต้องเช็คกันให้แน่ใจหน่อย)
5.การปรับเปลี่ยนข้อมูลของผู้ใช้งาน : ในกรณีนี้คือ ผู้ใช้งาน ได้มีการเข้ามาปรับเปลี่ยน ข้อมูลในบัญชีการใช้งาน เช่น เปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์ เปลี่ยนหมายเลขบัตรเครดิตในการตัดเงินรายเดือน เป็นต้น โดยเมื่อข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลง ทางระบบ จะส่งข้อความ SMS หรือ email ไปให้เจ้าของบัญชี ทำการกดปุ่มยืนยันตัวตนกลับมาค่ะ วิธีการนี้ อาจไม่ได้ทำการส่งรหัสผ่านแบบครั้งเดียวให้กับลูกค้าแต่อย่างใด แต่ทำการส่งข้อความแจ้งเตือน แล้วให้ลูกค้ากดปุ่มยืนยันตัวตนกลับมา เพื่อให้แน่ใจได้ว่า บัญชีการใช้งานของลูกค้าไม่ได้ถูก แฮกเกอร์ แฮกระบบเข้ามา หรือถูกนำไปใช้อย่างทุจริตโดยผู้ไม่หวังดีค่ะ
6.ยืนยันตัวตน เวลาทำรายการ (Authenticate Transaction) : การยืนยันการทำรายการแบบ Real Time เป็นการป้องกันความปลอดภัยของลูกค้าได้เป็นอย่างดีค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินผ่านทางออนไลน์ ที่ต้องมีการยืนยันรหัส OTP ในเวลานั้นทันทีทันใด ก็เป็นวิธีการที่ดีในการป้องกันมิฉาชีพ ที่อาจจะเข้ามาทำธุรกรรมผ่านบัญชีของลูกค้าค่ะ อาจจะเพิ่ม ขั้นตอนเข้ามาหน่อย คือก่อนจ่ายเงิน มีการยืนยันรหัสผ่านด้วย OTP แต่ผลดีต่อลูกค้าและบริษัท ก็คือ เรามั่นใจได้จริงว่า การทำธุรกรรม หรือการจ่ายเงินออนไลน์ในครั้งนั้น ไม่ได้ถูกทำโดยมิจฉาชีพแน่ๆ
จาก 6 ตัวอย่างที่กล่าวไป เราจะเห็นได้ว่า “การยืนยันตัวตน” หรือ Verify นั้น สำคัญสำหรับธุรกิจที่ให้บริการแบบออนไลน์ทีเดียวค่ะ หากคุณกำลังดำเนินธุรกิจ หรืออยู่ในส่วนงานการตลาดของบริษัทที่ให้บริการออนไลน์ และมีความต้องการที่จะใช้การ “ยืนยันตัวตนลูกค้า” ด้วยการส่งรหัส OTP ยังไงก็ปรึกษา ThaiBulkSMS ได้เสมอนะคะ .. ^^
นอกจากเรื่องการส่ง SMS Marketing แล้ว เรื่องการให้บริการ SMS ยืนยันตัวตน ด้วย OTP เราก็เชี่ยวชาญไม่แพ้กันค่ะ 😉